วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2561

066Putita : นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์



นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

(http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html) ได้รวบรวมไว้ว่า
ความหมายของนวัตกรรม
            “นวัตกรรม” (Innovation) มีรากศัพท์มาจาก innovare ในภาษาลาติน แปลว่า ทำสิ่งใหม่ขึ้นมา ความหมายของนวัตกรรมในเชิงเศรษฐศาสตร์คือ การนำแนวความคิดใหม่หรือการใช้ประโยชน์จากสิ่งที่มีอยู่แล้วมาใช้ในรูปแบบใหม่ เพื่อทำให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจ หรือก็คือ ”การทำในสิ่งที่แตกต่างจากคนอื่น โดยอาศัยการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ (Change) ที่เกิดขึ้นรอบตัวเราให้กลายมาเป็นโอกาส (Opportunity) และถ่ายทอดไปสู่แนวความคิดใหม่ที่ทำให้เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม” แนวความคิดนี้ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 โดยจะเห็นได้จากแนวคิดของนักเศรษฐอุตสาหกรรม เช่น ผลงานของ Joseph Schumpeter ใน The Theory of Economic Development,1934 โดยจะเน้นไปที่การสร้างสรรค์ การวิจัยและพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันจะนำไปสู่การได้มาซึ่ง นวัตกรรมทางเทคโนโลยี (Technological Innovation) เพื่อประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นหลัก นวัตกรรมยังหมายถึงความสามารถในการเรียนรู้และนำไปปฏิบัติให้เกิดผลได้จริงอีกด้วย (พันธุ์อาจ ชัยรัตน์ , Xaap.com)
              คำว่า “นวัตกรรม” เป็นคำที่ค่อนข้างจะใหม่ในวงการศึกษาของไทย คำนี้ เป็นศัพท์บัญญัติของคณะกรรมการพิจารณาศัพท์วิชาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ มาจากภาษาอังกฤษว่า Innovation มาจากคำกริยาว่า innovateแปลว่า ทำใหม่ เปลี่ยนแปลงให้เกิดสิ่งใหม่ ในภาษาไทยเดิมใช้คำว่านวัตกรรม” ต่อมาพบว่าคำนี้มีความหมายคลาดเคลื่อน จึงเปลี่ยนมาใช้คำว่า นวัตกรรม (อ่านว่า นะ วัด ตะ กำหมายถึงการนำสิ่งใหม่ๆ เข้ามาเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมจากวิธีการที่ทำอยู่เดิม เพื่อให้ใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น ดังนั้นไม่ว่าวงการหรือกิจการใด ๆ ก็ตาม เมื่อมีการนำเอาความเปลี่ยนแปลงใหม่ๆ เข้ามาใช้เพื่อปรับปรุงงานให้ดีขึ้นกว่าเดิมก็เรียกได้ว่าเป็นนวัตกรรม ของวงการนั้น ๆ เช่นในวงการศึกษานำเอามาใช้ ก็เรียกว่า “นวัตกรรมการศึกษา” (Educational Innovation) สำหรับผู้ที่กระทำ หรือนำความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มาใช้นี้ เรียกว่าเป็น “นวัตกร” (Innovator) (boonpan edt01.htm)

นวัตกรรม แบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
             ระยะที่ 1 มีการประดิษฐ์คิดค้น (Innovation) หรือเป็นการปรุงแต่งของเก่าให้เหมาะสมกับกาลสมัย
             ระยะที่ 2 พัฒนาการ (Development) มีการทดลองในแหล่งทดลองจัดทำอยู่ในลักษณะของโครงการทดลองปฏิบัติก่อน (Pilot Project)
             ระยะที่ 3 การนำเอาไปปฏิบัติในสถานการณ์ทั่วไป ซึ่งจัดว่าเป็นนวัตกรรมขั้นสมบูรณ์
             
          นวัตกรรม คือ การนำเทคโนโลยีต่างๆ มาก่อให้เกิดประโยชน์ และมีคุณค่า นั้นคือ นิยาม ของ นวัตกรรม คือ ของใหม่ และ มีประโยชน์

ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษา
              ประเภทของนวัตกรรมทางการศึกษาที่นิยมนำมาใช้ในการแก้ปัญหา/พัฒนาการเรียนการสอน
อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
              1. สื่อการเรียนการสอน อาทิ บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน บทเรียนวีซีดี บทเรียนซีดีบทเรียนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ บทเรียนการ์ตูน แบบฝึกทักษะ ฯลฯ
              2. รูปแบบ/วิธีการเรียนการสอนแบบต่างๆ อาทิ วิธีการสอนแบบร่วมมือร่วมใจวิธีการสอนแบบซิปปา (CIPPA Model) วิธีการสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง วิธีการสอนฝึกกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ฯลฯ
              3. หลักสูตรแบบต่างๆ อาทิ หลักสูตรสาระเพิ่มเติม หลักสูตรท้องถิ่น หลักสูตรฝึกอบรม หลักสูตรวิชาชีพต่างๆ ฯลฯ
              4. กระบวนการบริหารแบบต่างๆ อาทิ การบริหารเชิงระบบ การบริหารแบบธรรมาภิบาลการบริหารการจัดการความรู้ การบริหารแบบกัลยาณมิตร การบริหารโดยใช้โรงเรียนเป็นฐาน ฯลฯ
              นวัตกรรมทางการเรียนการสอน หมายถึง กระบวนการ เทคนิค วิธีการ แนวคิด หลักปฏิบัติ เครื่องมือหรือสิ่งใหม่ๆ ที่ได้ผ่านการทดลองและพัฒนาอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ แล้วนำมาใช้ในการเพิ่มคุณภาพและประสิทธิภาพของการเรียนการสอน


สื่อการสอน 
          คือ ตัวกลางสำคัญที่จะช่วยเชื่อมโยงกระบวนการเรียนการสอนของเราให้มี ประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น...สื่อการสอนไม่จำเป็นต้องเป็นวัสดุหรืออุปกรณ์เสมอ ไป แต่มันอาจเป็นตัวหนึ่งที่สามารถทำให้ผู้เรียนรู้สึกกระตุ้น สนใจที่จะเรียนมากขึ้น ซึ่งอาจเป็นการสร้างบรรยากาศของห้องใหม่ที่ดี เปลี่ยนสไตล์การสอน ทำกิจกรรม อย่างนี้เป็นต้น

ประเภทสื่อการสอน
          1. ประเภทวัสดุ ( Material or Software ) เป็นสื่ออยู่ในรูปของภาพ เสียง หรือตัวอักษร แยกได้เป็น 2 ชนิด คือ
                   1.1 ชนิดที่สามารถสื่อความหมายได้ด้วยตัวของมันเอง เช่น รูปภาพ แผนภูมิ ภาพวาด หนังสือ
                   1.2 ชนิดที่ต้องอาศัยเครื่องมือเสนอเรื่องราวไปสู่ผู้เรียน เช่น ภาพโปร่งแสง สไลด์ แถบบันทึกเสียง ฟิล์มภาพยนตร์ เป็นต้น
          2. ประเภทเครื่องมือ (Hardware or Equipment) หมายถึง เครื่องมือที่เป็นตัวกลางส่งผ่านความรู้ไปสู่ผู้เรียน เช่น เครื่องฉายชนิดต่าง ๆ เครื่องเสียงชนิดต่าง ๆ เครื่องรับและส่งวิทยุและโทรทัศน์ ซึ่งต้องอาศัยวัสดุประกอบเช่น ฟิล์มแถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพ เป็นต้น
          3. ประเภทเทคนิคหรือวิธีการ (Technique or Method) หมายถึง เทคนิคหรือวิธีการที่จะใช้ร่วมกับวัสดุและเครื่องมือ หรือใช้เพียงลำพังในการจัดการเรียนการสอนได้แก่ การสาธิต การทดลอง การแสดงละคร การจัดนิทรรศการ เป็นต้น

          ผู้เรียนจะบรรลุจุดประสงค์การเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพนั้น ผู้สอนจะต้องมีความรู้ ความเชี่ยวชาญในศาสตร์นั้นๆ และจะต้องมีเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อนำสามารถถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ต่างๆ ไปสู่ผู้เรียนได้อย่างเต็มศักยภาพ หรือมีการใช้สื่อการเรียนการสอนที่น่าสนใจ

บทบาทของสื่อการสอน 
          คือ สื่อจะทำให้ครูมีความมั่นใจในการสอนมากขึ้น เพราะมีความหลากหลาย และน่าสนใจ สื่อยังเป็นสิ่งที่ใช้พัฒนาผู้เรียนได้ ทำให้ผู้เรียนมีประสบการณ์ เรียนรู้อย่างชัดเจน และทำให้ผู้เรียนสนใจเรียนมากขึ้นด้วย





อุไรวรรณ (2553) ได้รวบรวมไว้ว่า
ความหมายของสื่อการเรียนการสอน
          สื่อการสอน
 คือ วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ รวมทั้งวิธีการสอน ซึ่งเป็นตัวกลางในการถ่ายทอดความรู้ ทักษะและประสบการให้กับผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ

ความสำคัญของสื่อการเรียนการสอน
          ในการที่ครูจะถ่ายทอดความรู้ให้กับนักเรียนนั้นจะต้องอาศัยวิธีการหลายๆอย่าง เพราะปัจจุบันครูไม่ใช่แค่ผู้บอก ครูเพียงเป็นผู้แนะแนวทาง ที่จะให้นักเรียนได้คิดค้นด้วยตนเอง การที่ใช้รูปธรรมเข้าช่วยนั้นจะทำให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น สื่อการเรียนการสอนนั้นมีความสำคัญดังนี้
          ยุพิน พิพิธกุล (2530 :282-283) ได้กล่าวสรุปถึงความสำคัญของสื่อการสอน ดังนี้
                   1. ในการสอนนั้นจะต้องให้นักเรียนได้รับประสบการณ์หลายๆด้าน สื่อการเรียนการสอนจะช่วยให้เข้าใจแจ่มแจ้งยิ่งขึ้น
                   2. เนื่องจากนักเรียนมีความสามารถแตกต่างกัน นักเรียนบางคนใช้เพียงการอธิบายก็เข้าใจ แต่บางคนต้องให้ดูรูปภพ ดูวัสดุประกอบจึงจะเข้าใจได้
                   3. เพื่อให้นักเรียนเกิดความสนใจและประหยัดเวลาในการสอน
                   4. เพื่อให้นักเรียนได้เรียนรู้จากสิ่งที่เป็นรูปธรรม ทำให้เกิดความเข้าใจแน่นแฟ้นและจำไปใช้ ได้นาน
                   5. เพื่อเสริมสร้างเจตคติที่ดีแก่นักเรียนและทำให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
                   6. การที่จะทำให้นักเรียนเกิดความสนใจได้นั้น ครูควรจะเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในการทำและใช้สื่อการเรียนการสอนนั้นๆ

ประเภทของสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
          เพื่อให้ครูคณิตศาสตร์ได้เลือกสื่อการสอนตามวามเหมาะสมแก่สภาพท้องถิ่น สภาพโรงเรียน และเป็นไปด้วยความประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้นจะเป็นอะไรก็ได้ที่สามารถทำให้นักเรียนเกิด การเรียนรู้ ซึ่ง       ยุพิน พิพิธกุล (2524 : 283 - 284) ได้กล่าวถึงสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ไว้ ดังนี้
          1. วัสดุ แบ่งออกได้ดังนี้ คือ
                   ก. วัสดุประกอบการสอนประเภทสิ่งพิมพ์ ซึ่งได้แก่ แบบเรียน คู่มือครู โครงการสอน เอกสารประกอบการสอน วารสาร จุลสาร บทเรียนแบบโปรแกรม เอกสารแนะแนวทาง เป็นต้น
                   ข. วัสดุประดิษฐ์ เป็นสิ่งที่ครูทำขึ้นเอง จะใช้กระดาษ ไม้ พลาสติก และสิ่งอื่นๆ ที่ครูประดิษฐ์ขึ้นใช้ประกอบการสอน เช่นกระดาษทำรูปทรงต่างๆทางเรขาคณิต เป็นต้นว่า รูปกรวย ปริซึม พีระมิด ชุดการสอน ภาพเขียน ภาพโปร่งใส ภาพถ่าย แผนภูมิ บัตรคำ กระเป๋าผนัง แผนภาพพลิก กระดานตะปู
                   ค. วัสดุถาวร ได้แก่ กระดานดำ กระดานนิเทศ กระดานกราฟ ของจริง ของจำลอง ของตัวอย่าง เทปบันทึกภาพ เทปเสียง โปสเตอร์ แผนที่ แผ่นเสียง ฟีล์มสตริป
                   ง. วัสดุสิ้นเปลือง ชอร์ก สไลด์ ฟีล์ม ฯลฯ
          2. อุปกรณ์ สื่อการเรียนการสอนประเภทอุปกรณ์ที่ใช้กันมากคือ เครื่องฉายภาพข้ามศีรษะ ซึ่งใช้กับแผ่นโปร่งใส เครื่องขยายสไลด์และฟีล์มสตริป เครื่องเสียง จอฉายภาพ ฯลฯ
          3. กิจกรรม การจัดกิจกรรมต่างๆเป็นสื่อการสอนเช่นเดียวกัน เช่น การทดลอง การจัดนิทรรศการ การเล่นละคร การเล่าเรียน การศึกษานอกสถานที่ การสาธิต การทำโครงงาน การร้องเพลง คำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง (กลอน กาพย์ โคลง ฯลฯ) เกมปริศนา
          4. สิ่งแวดล้อม เป็นสื่อการสอนที่หาได้ง่าย เช่น เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน ครูควรแสวงหาสิ่งที่อยู่รอบๆตัวเรามาใช้ เพื่อเป็นการประหยัด สื่อการเรียนการสอนนั้น ไม่จำเป็นจะต้องมีราคาแพง แม้แต่ตัวคนหรือนักเรียนเองก็ถือว่าเป็นสื่อการเรียนการสอน นอกจากนั้น พวกประเภทของจริงก็ใช้ได้ เช่น ใช้ผลไม้มาแบ่งเพื่อสอนเรื่องเศษส่วน เป็นต้น

แนวทางการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์
          สมชาย ลีลานิตย์กุล (2553 : 79) ได้ให้แนวทางในการผลิตและเลือกสื่อการสอนวิชาคณิตศาสตร์ ไว้ดังนี้
          1. ต้องผลิตสื่อตามเนื้อหาที่ผ่านการวิเคราะห์แล้ว โดยกำหนดเป็นหน่วยที่แยกย่อยลงไปจนถึงหนึ่งหน่วยต่อการสอน 1 ครั้ง
          2. ควรผลิตและเลือกสื่อการสอนในลักษณะที่มีสื่อมาประกอบกันเป็นชุดการสอน 1 ชุด สำหรับการสอน 1ครั้ง โดยมีชุดอุปกรณ์ประกอบด้วย
          3. ต้องตระหนักอยู่เสมอว่า การสอนคณิตศาสตร์ทำไม่ได้เพียงด้วยการพูดให้ฟัง ดังนั้นจึงควรผลิตและใช้สื่อการสอนในทุกโอกาสที่จะทำได้
          4. การผลิตและเลือกสื่อการสอน ควรคำนึงถึงธรรมชาติของสื่อในการที่จะช่วยสร้างประสบการณ์ รูปธรรมให้ ผู้เรียนมากที่สุด ทั้งที่เป็นสื่อที่สามารถหาได้ในท้องถิ่น เช่น เมล็ดพืช ก้อนกรวด ก้อนหิน ฯลฯ และสื่อที่มีผู้ผลิตจำหน่าย เช่น ไม้บล็อก หรือภาพยนตร์ที่แสดงให้เห็นการเกิดรูปทรงต่าง ๆ โดยเทคนิคการสร้างภาพเคลื่อนไหวเข้าช่วย
          5. การเรียนคณิตศาสตร์ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน การฝึกฝนแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ จึงเป็นกิจกรรมที่ต้องบูรณาการเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการผลิตสื่อการสอนคณิตศาสตร์
          6. ก่อนผลิตและเลือกสื่อการสอนคณิตศาสตร์ ครูควรได้ศึกษาวิธีการจากระบบสื่อการสอน คณิตศาสตร์ที่มีผู้คิดขึ้นแล้ว เพื่อเป็นแนวทางในการผลิตสื่อ




กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ (2558) ได้รวบรวมไว้ว่า
การจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์
            การเรียนรู คือ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมจากการไดรับประสบการณและประสบการณนั้นทําใหเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปจากเดิมซึ่งในการเรียนการสอนไม่วาจะเปนวิชาใดก็ตาม ครูจะตองรูจิตวิทยาในการสอน เพื่อให้การสอนสมบูรณ์และมีประสิทธิภาพ ในการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์เพื่อให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ และสามารถนำ คณิตศาสตร์ไปประยุกต์เพื่อพัฒนาคุณภาพของชีวิตและพัฒนาคุณภาพของสังคมไทยให้ดีนั้นผู้จัดควรคำนึงถึงความเหมาะสมและความจำ เป็นในหลาย ๆ ด้าน ได้แก่ ความพร้อมของสถานศึกษาในด้านบุคลากร ผู้บริหาร ผู้สอน ผู้เรียน และสิ่งอำนวยความสะดวก การจัดสาระการเรียนรู้จะต้องจัดให้สอดคล้องกับสาระของกลุ่ม คณิตศาสตร์ในหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ที่กำหนดสาระการเรียนรู้ที่จำ เป็นสำหรับผู้เรียนทุกคนไว้ดังนี้
                1) จำนวนและการดำเนินการ
                2) การวัด
                3) เรขาคณิต
                4) พีชคณิต
                5) การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
                6) ทักษะ/กระบวนการทางคณิตศาสตร์

หลักและแนวการจัดการเรียนการสอนคณิตศาสตร์
          1. สอนให้ผูเรียนเกิดมโนทัศน์หรือไดความรูทางคณิตศาสตร์จากการคิดและมีส่วนรวมใน
การทำกิจกรรมกับผู้อื่น ใชความคิดและคําถามที่นักเรียนสงสัยเป็นประเด็นในการอภิปราย  เพื่อให
ไดแนวคิดที่หลากหลาย  และเพื่อนำไปสู่ข้อสรุป
          2. สอนใหผูเรียนเห็นโครงสร้างทางคณิตศาสตร์ความสัมพันธ์และความต่อเนื่องของเนื้อหา
คณิตศาสตร์
          3. สอนโดยคำนึงว่าจะให้นักเรียนเรียนอะไร (What) และเรียนอย่างไร (How) นั่นคือตอง
คำนึงถึงทั้งเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียน
          4. สอนโดยการใชสิ่งที่เป็นรูปธรรมอธิบายนามธรรม หรือการทําใหสิ่งที่เป็นนามธรรมมากๆ 
เป็นนามธรรมที่ง่ายขึ้นหรือพอที่จะจินตนาการได้มากขึ้นเนื่องจากมโนทัศนทางคณิตศาสตร์บางอยางไมสามารถหาสื่อมาอธิบายได
          5. จัดกิจกรรมการสอนโดยคำนึงถึงประสบการณและความรูพื้นฐานของนักเรียน
          6. สอนโดยใช้แบบฝึกหัดให้ผู้เรียนเกิดประสบการณในการแกปญหาทางคณิตศาสตร์ทั้งการ
ฝกรายบุคคล การฝึกเป็นลุ่ม การฝึกทักษะย่อยทางคณิตศาสตร์และการฝึกทักษะรวม เพื่อแกปัญหาที่ซับซ้อนมากขึ้น
          7. สอนเพื่อใหผูเรียนเกิดทักษะการคิดวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาสามารถใหเหตุผล เชื่อมโยง
สื่อสาร และคิดอย่างสร้างสรรค์ตลอดจนเกิดความอยากรูอยากเห็น
          8. สอนใหนักเรียนเห็นความสัมพันธ์ระหว่างคณิตศาสตร์ในหองเรียนกับคณิตศาสตร์ใน
ชีวิตประจําวัน
          9. ผูสอนควรศึกษาธรรมชาติและศักยภาพของผูเรียน
          10. สอนใหผูเรียนมีความสุขในการเรียนคณิตศาสตร์รูสึกวาวิชาคณิตศาสตร์ไม่ยาก และมี
ความสนุกสนานในการทํากิจกรรม
          11. สังเกตและประเมินการเรียนรูและความเขาใจของผู้เรียนขณะเรียนในห้องโดยใช
คําถามสั้นๆ หรือการพูดคุยปกติ
         
          นอกจากนี้ยุพิน  พิพิธกุล (2545) ยังไดกล่าวถึงหลักการสอนคณิตศาสตร์ไววา
                   1. ควรสอนจากเรื่องงายไปสูเรื่องยาก
                   2. เปลี่ยนจากรูปธรรมไปสูนามธรรมในเรื่องที่สามารถใชสื่อการเรียนการสอนรูปธรรม
ประกอบ
                   3. สอนให้สัมพันธ์ความคิดเมื่อครูจะทบทวนเรื่องใดก็ควรจะทบทวนให้หมด  การรวบรวม
เรื่องที่เหมือนกันเข้าเป็นหมวดหมู่จะช่วยให้นักเรียนเข้าใจและจำได้แม่นยำ
                   4. เปลี่ยนวิธีการสอนไมซ้ำซากนาเบื่อหน่าย  ผูสอนควรจะสอนใหสนุกสนานและน่าสนใจ
ซึ่งอาจจะมีกลอน เพลง เกม การเล่าเรื่อง การทําภาพประกอบ การตูน ปริศนา ตองรูจัก สอดแทรก
สิ่งละอันพันละน้อย เพื่อให้บทเรียนน่าสนใจ
                   5. ใชความสนใจของนกเรียนเป็นจุดเริ่มต้น เป็นแรงดลใจที่จะเรียนด้วยเหตูนี้ในการสอน
จึงมีการนำเขาสู่บทเรียนเร้าใจเสียก่อน
                   6. ควรจะคำนึงประสบการณ ึ เดิมและทักษะเดิมที่นักเรียนมีอยู กิจกรรมใหมควรจะต่อเนื่อง
กับกิจกรรมเดิม
                   7. เรื่องที่มีสัมพันธกันก็ควรจะสอนไปพร้อม ๆ กัน
                   8. ใหผูเรียนมองเห็นโครงสรางไมใชเนนแตเนื้อหา
                   9. ไมควรเปนเรื่องยากเกินไปผูสอนบางคนชอบใหโจทยยาก ๆ เกินสาระการเรียนรูที่กําหนด
ไวซึ่งอาจจะทำให้ผูเรียนที่เรียนอ่อนท้อถอย  แตถาผูเรียนเกงก็อาจจะชอบควรจะสงเสริมเปนรายไปในการสอนตองคํานึงถึงหลักสูตรและเลือกเนื้อหาเพิ่มเติมใหเหมาะสมทั้งนี้เพื่อสงเสริมศักยภาพ
                   10. สอนใหนักเรียนสามารถหาข้อสรุปไดดวยตนเองการยกตัวอย่างหลายๆ ตัวอยาง จนนักเรียนเห็นรูปแบบจะช่วยให้นักเรียนสรุปได อยารีบบอกเกินไปควรเลือกวิธีการตางๆ ที่สอดคลองกับเนื้อหา
                   11. ใหผูเรียนปฏิบัติในสิ่งทีทําไดลงมือปฏิบัติจริงและประเมินการปฏิบัติจริง
                   12. ผูสอนควรจะมีอารมณ์ขัน เพื่อชวยใหบรรยากาศในหองเรียนนาเรียนยิ่งขึ้น
                   13. ผูสอนควรจะมีความกระตือรือรน และตื่นตัวอยู่เสมอ
                   14. ผูสอนควรหมั่นหาความรูเพิ่มเติมเพื่อจะนำสิ่งแปลก และใหมมาถายทอดใหผูเรียนและ
ผูสอนควรจะเปนผูที่มีศรัทธาในอาชีพของตนจึงจะทำให้สอนไดดี


การนำสื่อและนวัตกรรมการมาจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์

          การใชเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารใหปจจุบัน จึงเป็นการนำเทคโนโลยีมาใชในการปฏิรูปการเรียนการสอน ให้ผู้เรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนหรือเป็นสำคัญ เปนการเปลี่ยนบทบาทของผูเรียนจากผู้รับแต่ฝ่ายเดียวมาเป็นผู้กระตือรือร้น รวมถึงการมีส่วนร่วมในการเรียน ขณะเดียวกันผู้สอนย่อมเปลี่ยนจากเป็นจุดศูนย์กลางของการเรียนการสอนมาเป็นผู้ คอยชี้แนะ ผูสนับสนุนให้ความร่วมมือ และบางครั้งจะเป็นผู้เรียนรูร่วมไปกับผู้เรียนด้วย (กิดานันท มลิทอง, 2548, หนา 12-16) และในยุคปัจจุบันมีผู้คิดคนนวัตกรรมใหม่มากมาย เพื่อตอบสนองต่อผู้เรียน เช่น ชุดการสอน สื่อต่าง อีกทั้ง คอมพิวเตอร์ยังมีความสามารถในการตอบสนองต่อข้อมูลที่ผู้เรียนป้อนเข้าไปไดในทันที ซึ่งเป็นการช่วยเสริมแรงใหแกผูเรียน ทําใหมีการใชการสอนใชคอมพิวเตอร์ช่วย (computer-assistedinstruction : CAI) ที่เรียกกันวา “คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหรือ “ซีเอไอ” อยางแพรหลาย ลักษณะบทเรียนซีเอไอไดอาศัยแนวความคิดจากทฤษฎีการเชื่อมโยงระหวางสิ่งเรากับการตอบสนองซึ่งพัฒนามาจากบทเรียนแบบโปรแกรมนั่นเอง โดยผูเรียนสามารถเรียนรูจากโปรแกรมบทเรียนรูปแบบต่างๆ  ไดแก การสอน การฝึกหัด การจําลอง เกมเพื่อการสอน การค้นพบ การแกปญหา และเสียง ประกอบในลักษณะของสื่อประสม (multimedia) และสื่อหลายมิติ (hypermedia) ทำให้ผู้เรียนสนุกไมเบื่อหนายในการเรียน

ตัวอย่างสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์









สรุป
          จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ เป็นการนำหรือสร้างสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับคณิตศาสตร์มาใช้ในการเรียนการสอนในห้องเรียน เพื่อให้กระตุ้นและสร้างความสนใจให้กับผู้เรียน และเป็นการบูรณาการหรือต่อยอดจากสิ่งที่มีอยู่แล้วให้มีความแปลกใหม่ตามยุคสมัยนั้นๆ จะทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจที่จะเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และมีเจตคติที่ต่อวิชาคณิตศาสตร์มากขึ้น ซึ่งอาจจะออกมาในรูปแบบของสื่อ เกม หรือเพลงคณิตศาสตร์ เป็นต้น




ที่มา
http://oumi024.blogspot.com/2009/08/blog-post_21.html. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 
            8 สิงหาคม 2561.
            [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561.
กุลนันท์ กลิ่นสุวรรณ. (2558). http://gullanun302.blogspot.com/2015/12/blog-post.html. 
            [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561.
http://www.dekgenz.com. [Online] เข้าถึงเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2561.








วันอังคารที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2561

066Putita : การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)



การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique)

ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์ (2553: 239-246) ได้กล่าวไว้ว่า
ความหมาย
          เทคนิคแม่แบบ เป็นกลวิธีสร้างหรือสอนพฤติกรรมใหม่ โดยให้ผู้ประสงค์จะเรียนแบบสังเกตพฤติกรรมของแม่แบบที่เขาสนใจ (Bandura, Rossand Ross 1963: 99-108) และ Patterson (1973: 138-139) สรุปว่าการเรียนรู้ส่วนใหญ่ของเด็กเกิดจาก การกระทำตามผู้อื่นเด็กจะเรียนรู้จากแม่แบบ โดยแม่แบบจะทำหน้าที่เป็นสิ่งเร้าให้ ผู้เรียนสังเกตและเลียนแบบพฤติกรรมที่เป็นเป้าหมายซึ่งกระบวนการเรียนรู้โดยการสังเกตเป็นวิธีการเรียนรู้ที่ช่วยให้ผู้เรียนเข้าใจมโนทัศน์ที่ซับซ้อนหรือยากๆ ได้ดีและรวดเร็ว

ทฤษฎี/แนวคิด
          หลักการเรียนรู้จากตัวแบบ
          วัชรี ทรัพย์มี (2525: 212-213) สรุปหลักการเรียนรู้จากตัวแบบไว้ดังนี้
          1. ให้ผู้สังเกตได้เรียนรู้พฤติกรรมใหม่จากการสังเกตพฤติกรรมของแม่แบบซึ่งจะช่วยให้ผู้สังเกตได้เรียนรู้ทักษะในการก่อให้เกิดพฤติกรรมใหม่
          2. ผู้สังเกตอาจจะรับรู้วิธีการที่จะนำมาสู่พฤติกรรมที่พึงปรารถนามาก่อนแล้วแต่ยังไม่ได้ทำหรือคาดว่าจะทำไม่ได้ จากการสังเกตพฤติกรรมที่แม่แบบแสดง จะช่วยกระตุ้นให้ผู้สังเกตได้แสดงพฤติกรรมที่เรียนรู้มาแล้วนั้น
          3. แม่แบบจะต้องมีลักษณะที่น่าสนใจ เพื่อเป็นแรงจูงใจหรือส่งเสริมให้ผู้สังเกตเลียนแบบ
          4. หลังจากผู้สังเกตได้สังเกตพฤติกรรมของแม่แบบแล้ว ผู้สังเกตจะจดจำพฤติกรรมแม่แบบไว้ในความทรงจำ เพื่อนำไปแสดงพฤติกรรมในอนาคต
          5. หลังจากผู้สังเกตได้สังเกตพฤติกรรมของแม่แบบแล้ว ให้โอกาสผู้สังเกตได้ฝึกฝนพฤติกรรมนั้นและผู้ควบคุมจะเป็นผู้ให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้สังเกต

ชนิดของแม่แบบ
          Bandura (1977: 40-51) ได้แบ่งแม่แบบไว้เป็น 2 ชนิดคือ แม่แบบจากตัวจริงกับแม่แบบที่เป็ฯสัญลักษณ์ซึ่งอาจเป็นคำพูด เอกสาร หรือใช้ทัศนวัสดุ เช่น วิทยุ โทรทัศน์ สไลด์ หรือวีดีโอเทป เป็นต้น

อิทธิพลของแม่แบบที่มีต่อผู้สังเกต
          Bandura (1977: 41-45) สรุปถึงอิทธิพลของแม่แบบที่มีผู้สังเกตดังนี้
          1. การสร้างพฤติกรรมใหม่ เมื่อผู้สังเกตได้เห็นการกระทำของแม่แบบซึ่งเป็นการกระทำที่ผู้สังเกตไปเคยพบเห็นมาก่อน ผู้สังเกตจะรวบรวมข้อมูลของการกระทำใหม่นี้ในรูปของสัญลักษณ์และถ่ายทอดออกมาเป็นพฤติกรรมใหม่
          2. การสร้างกฎเกณฑ์หรือหลักการใหม่ จะเกิดขึ้นในสภาพที่ผู้สังเกตเห็นการกระทำของแม่แบบในลักษณะต่างๆ เช่น การตัดสินใจ รูปแบบทางภาษา เป็นต้น จากนั้นผู้สังเกตจะทดสอบการกระทำตามแม่แบบลักษณะต่างๆ และถ้าการตอบสนองส่งผลทางบวก ผู้สังเกตจะรวบรวมรูปแบบลักษณะของแม่แบบในรูปแบบต่างๆ แล้วนำมาสร้างเป็นกฎเกณฑ์ใหม่หรือหลักการใหม่
          3. การสอนความคิดและพฤติกรรมการสร้างสรรค์ การมีแม่แบบจะช่วยสนับสนุน การพัฒนาเชิงสร้างสรรค์เพราะเมื่อมนุษย์เห็นแม่แบบกระทำพฤติกรรมใดพฤติกรรมหนึ่ง มนุษย์อาจใช้ประสบการณ์ต่างๆ ที่มีอยู่ประกอบกับการกระทำของแม่แบบมาพัฒนาเป็นความคิดหรือพฤติกรรมใหม่ขึ้นมา
          4. การยับยั้งการกระทำและลดความหวั่นเกรง ที่จะกระทำการที่ได้เห็นแม่แบบถูกลงโทษ ผู้สังเกตมีแนวโน้มที่จะไม่กระทำตามแม่แบบนั้น และในทำนองเดียวกันถ้าได้เห็นแม่แบบทำพฤติกรรมที่ไม่ถูกต้องและไม่ห้ามปรามแล้วไม่มีผลกรรมใดๆ ตามมา ผู้สังเกตก็มีแนวโน้มที่จะกระทำตามแม่แบบ
          5. การส่งเสริมการกระทำ การมีแม่แบบจะมีอิทธิพลต่อการส่งเสริมการกระทำทั้งที่เป็นทางบวกและทางลบ ถ้าผู้สังเกตได้เห็นแม่แบบแสดงพฤติกรรมหนึ่งและได้รับรางวัลผู้สังเกตมีแนวโน้มที่จะกระทำตามมากขึ้น ในทำนองเดียวกันถ้าผู้สังเกตได้เห็นแม่แบบที่แสดงความก้าวร้าวและได้รับการยกย่องว่าเป็นสิ่งดี ผู้สังเกตก็มีแนวโน้มกระทำตามมากขึ้น ดังนั้นการเสนอแม่แบบในสังคมจำเป็นต้องมีความระมัดระวังอย่างยิ่ง เพราะอาจจะมีผลต่อการเพิ่มพฤติกรรมทางลบได้
          6. ทางด้านอารมณ์ การมีแม่แบบนอกจากจะส่งผลต่อการกระทำแล้ว ยังมีผลต่ออารมณ์ของผู้สังเกตให้รุนแรงเพิ่มขึ้นและกระตุ้นให้เกิดอารมณ์คล้อยตามไปด้วย
          7. การเอื้ออำนวยให้เกิดการกระทำตามแม่แบบ การกระทำที่ให้คนเห็นคุณค่าและมีความชื่นชอบอยู่เสมอ การกระทำของแม่แบบนั้นก็จะทำให้ผู้สังเกตทำได้โดยรวดเร็วและกระทำได้ง่าย นอกจากนี้เมื่อคนสามารถกระทำตามแม่แบบได้เร็ว จะทำให้เกิดการแผ่ขยายจากสังคมหนึ่งได้รวดเร็วด้วย

แนวทางการจัดการเรียนรู้
          แม่แบบที่มีประสิทธิภาพ
          แม่แบบที่มีประสิทธิภาพ ได้แก่ ความมีเกียรติ ความน่าเชื่อถือ มีลักษณะนิสัยใจคอที่กลุ่มยอมรับและมีลักษณะที่เป็นแบบอย่าง ซึ่งผู้สังเกตใฝ่ฝันจะเป็นเช่นนั้น ซึ่ง ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2536: 53) ได้เสนอวิธีการคัดเลือกแม่แบบที่มีประสิทธิภาพไว้ดังนี้
          1. แม่แบบที่คัดเลือกต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย เหมาะสมและเป็นตัวอย่างที่ดีมีความน่าเชื่อถือ
          2. แม่แบบและผู้เรียนแบบหรือผู้สังเกต ต้องมีลักษณะใกล้เคียงกัน เช่น อายุเท่าๆ กัน
          3. ลักษณะของกิจกรรมที่เลียนแบบ ควรจะเป็นกิจกรรมที่ไม่ซับซ้อน ยุ่งยาก เพราะจะทำให้เกิดการเลียนแบบได้ง่ายขึ้น

          สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพของการเสนอแม่แบบนั้นสรุปได้ดังนี้ (สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต, 2536: 255-256)
          1. แม่แบบควรจะมีลักษณะคล้ายคลึงกับผู้สังเกตทั้งในด้านเพศ เชื้อชาติ และทัศนคติ
          2. แม่แบบควรจะเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงในสายตาของผู้สังเกต แต่ถ้ามีชื่อเสียงมากจนเกินไป ก็จะทำให้เขามีความรู้สึกว่าพฤติกรรมที่แม่แบบกระทำนั้นเป็นสิ่งที่ไม่น่าจะเป็นจริงสำหรับเขาได้
          3. ระดับความสามารถของตัวแบบนั้น ควรจะมีระดับที่ใกล้เคียงกับผู้สังเกต เพราะถ้าใช้แม่แบบที่มีความสามารถสูงมาก ก็จะทำให้ผู้สังเกตคิดว่าเขาไม่น่าจะทำตามได้
          4. แม่แบบนั้นควรจะมีลักษณะที่เป็นกันเองและอบอุ่น
          5. แม่แบบเมื่อแสดงพฤติกรรมแล้ว ได้รับการเสริมแรง จะทำให้ได้รับความสนใจจากผู้สังเกตมากขึ้น

กระบวนการเรียนรู้ด้วยการสังเกต
          Bandura (1977: 22-29) กล่าวถึงกระบวนการเรียนรู้ด้วยการสังเกตว่ามีองค์ประกอบสำคัญ 4 ประการดังนี้
          1. ความสนใจ เป็นกระบวนการเรียนรู้ลักษณะสำคัญๆ ของแม่แบบไว้อย่างละเอียดโดยการสังเกตและสามารถสรุปรวบรวมสิ่งที่รับรู้มาได้อย่างเป็นขั้นตอน สิ่งที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการของความสนใจในการเรียนรู้ด้วยการสังเกตนี้มามาก เช่น ลักษณะของผู้สังเกตในด้านการรับรู้ การรวบรวม และการแปลความหมายของสิ่งที่ได้สังเกตอันเป็นผลจากประสบการณ์เดิมของผู้สังเกตลักษณะหรือการแสดงออกของแม่แบบที่แปลกหรือดึงดูด ความสนใจได้มากเพียงไร มีความชัดเจนหรือมีความซับซ้อนของแม่แบบมากน้อยแค่ไหน
          2. กระบวนการจำ เป็นกระบวนการของการจำอันเกิดจากการรวบรวมพฤติกรรมของแม่แบบที่สังเกตทุกครั้งการเก็บความทรงจำนี้จะกระทำในรูปสัญลักษณ์ นี้จะช่วยให้จำพฤติกรรมของแม่แบบได้แม้ว่าจะเห็นแม่แบบเพียงชั่วเวลาอันสั้น
          3. การแสดงออก เป็นกระบวนการของการดัดแปลงสัญลักษณ์ซึ่งเป็นแม่แบบพฤติกรรมเป็นพฤติกรรมที่เหมาะสมเมื่อมนุษย์เรามีข้อมูลที่เป็นสัญลักษณ์อยู่ในความทรงจำแล้วจะมีการแสดงพฤติกรรมเหล่าเข้ามาภายหลังได้ซึ่งพฤติกรรมที่แสดงออกครั้งแรกๆ อาจจะยังไม่ถูกต้องนัก เพียงแต่แสดงได้ใกล้เคียงกับพฤติกรรมแม่แบบเท่านั้น แล้วค่อยๆ ปรับแก้ไขพฤติกรรมของตนเองจนกว่าจะได้รับผลที่พึงพอใจ
          4. การจูงใจ เป็นกระบวนการที่แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างความรู้ที่ได้รับมากับการแสดงออกในการเรียนรู้ทางสังคมนั้นมนุษย์ไม่สามารถแสดงออกได้ตามที่รับรู้มาได้ทั้งหมด แต่จะเลียนแบบพฤติกรรมแม่แบบที่จะก่อให้เกิดผลดีแก่ตนเองมากกว่าการเลือกในทางที่ก่อให้เกิดผลเสียต่อตนเองและจะประเมินคุณค่าของแม่แบบโดยการรับเอาสิ่งที่ตนพึงพอใจ ดังนั้นองค์ประกอบอีกประการหนึ่งของการใช้ตัวแบบต้องมีการจูงใจโดยการให้รางวัลหรือการเสริมแรงทางบวก เพื่อกระตุ้นให้ผู้สังเกตแสดงพฤติกรรมการเรียนแบบออกมาและเป็นการเสริมให้พฤติกรรมนั้นเกิดมากขึ้น

กระบวนการเรียนรู้จากแม่แบบ
          เกสสุรางค์ สักกะบูชา (2540: 912) สรุปกระบวนการเรียนรู้จากแม่แบบไว้ดังนี้
          ขั้นที่ 1 กระบวนการใส่ใจ (Attention process) บุคคลจะไม่เกิดการเรียนรู้หากขาดความใส่ใจ และขาดการรับรู้พฤติกรรมที่แม่แบบแสดงออก สิ่งที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการนี้คือ
                   1.1 ลักษณะเหตุการณ์ของแม่แบบ ซึ่งจะก่อให้เกิดความใส่ใจของผู้สังเกตได้ดีมีหลายประการ เช่น ความเด่น แม่แบบที่เด่นย่อมดึงดูดให้ผู้สังเกตใส่ใจมากกว่าแม่แบบที่ไม่เด่นความซับซ้อนผู้สังเกตจะมีความใส่ใจต่อเหตุการณ์ของแม่แบบที่มีความซับซ้อนมาก คำพูดยาวๆ จะมีความซับซ้อนเกินไปสำหรับเด็กเล็กๆ เขาจึงไม่ค่อยใส่ใจ ถ้าหากลดความยาวของคำพูดลงเด็กๆ ก็จะมีความใส่ใจมากขึ้น จำนวนแม่แบบในพฤติกรรมที่เป็นแม่แบบ ถ้ามีแม่แบบหลายๆ ตัว ย่อมเรียกร้องความสนใจ และก่อให้เกิด ความใส่ใจมากกว่าจำนวนแม่แบบน้อยๆ ความเกี่ยวข้องและการมีคุณค่า ปกติแล้วทุกคนจะใส่ใจแม่แบบ ที่เกี่ยวข้องและมีคุณค่ากับตนเองเสมอ
                   1.2 ตัวผู้สังเกต ลักษณะของผู้สังเกตที่มีอิทธิพลต่อกระบวนการใส่ใจ ได้แก่
                             1.2.1 การรับรู้ ความสามารถในการรับรู้และประสบการณ์รับรู้ในอดีต ผู้ที่สามารถรับรู้ได้ดีย่อมมีแนวโน้มในการใส่ใจได้ดีกว่าผู้ที่มีการรับรู้ไม่ดี และประสบการณ์การรับรู้ในอดีตจะเป็นแนวให้ผู้สังเกตใส่ใจแม่แบบในแง่ใดแง่หนึ่ง และเป็นแนวทางในการแปลความจากการรับรู้นั้น
                             1.2.2 ระดับการตื่นตัว นักจิตวิทยาพบว่า ในขณะที่อยู่ในภาวการณ์ตื่นตัวระดับปานกลาง จะมีความใส่ใจต่อแบบดีกว่าในภาวการณ์ตื่นตัวต่ำ
                             1.2.3 ความรู้สึกชอบที่มีอยู่เดิม ถ้าผู้สังเกตมีความรู้สึกชอบแม่แบบใดแม่แบบหนึ่งอยู่ก่อน เขาก็จะมีความใส่ใจต่อสิ่งนั้นมาก
                             1.2.4 ทักษะการสังเกต ผู้สังเกตที่มีทักษะการสังเกตสูง และสามารถพิจารณารายละเอียดของแม่แบบได้ย่อมมีความใส่ใจในพฤติกรรมของแม่แบบมากกว่า ผู้สังเกตที่มีลักษณะการสังเกตต่ำ       ขั้นที่ 2 กระบวนการเก็บจำ (Retentional process) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตรวบรวมข้อมูล รูปแบบพฤติกรรมของแม่แบบที่สังเกตแต่ละครั้งแล้วนำมาวางรูปแบบของพฤติกรรมที่เด่นชัดในรูปสัญลักษณ์ (symbolic coding) แทนกิจกรรมที่เลียนแบบ การเก็บตามในรูปสัญลักษณ์กระทำใน 2 ลักษณะ คือ การประมวลไว้ในลักษณะของมโนภาพ (imaginal coding) และในลักษณะของภาษา (verbal coding) การเก็บตามในรูปมโนภาพจะง่ายเมื่อมีสิ่งเร้า ( แม่แบบ) มาแสดงให้เห็นบ่อยๆ ส่วนการเก็บตามในรูปภาษาพัฒนาหลังจากมีมโนภาพและช่วยให้การเรียนรู้ประสบผลสำเร็จยิ่งขึ้นเพราะสัญลักษณ์ในรูปภาษาสามารถให้ข้อมูลที่มากพอ และง่ายต่อการสะสมความรู้ที่ได้มาไว้ด้วย
          ขั้นที่ 3 กระบวนการแสดงออก (Reproductional process) เป็นกระบวนการที่ผู้สังเกตเปลี่ยนสัญลักษณ์ของการเก็บจำจากการสังเกตจากตัวแบบในรูปของความจำมาเป็นการกระทำหรือการแสดงออกที่เหมาะสมโดยการใช้กลไกของความคิด ผู้สังเกตจะแสดงพฤติกรรมได้ครบตามที่สังเกตจากตัวแบบหรือไม่นั้นจะขึ้นอยู่กับระดับความคิด และความซับซ้อนของพฤติกรรม
          ขั้นที่ 4 กระบวนการจูงใจ (Motivational process) บุคคลจะเลือกกระทำตามแม่แบบเมื่อการกระทำนั้นก่อให้เกิดผลดีตอบแทนมากกว่าพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดผลเสีย การประเมินคุณค่าของพฤติกรรมของแม่แบ่งโดยผู้สังเกตเป็นไปในรูปของการรับเอาสิ่งที่ตนพึงพอใจไว้ และไม่ยอมรับสิ่งที่ตนไม่เห็นด้วย

กลวิธีในการเรียนรู้จากตัวแบบ
          ในการนำทฤษฎีของแบนดูราไปใช้ เพื่อให้ผู้สังเกตเกิดการเลียนแบบพฤติกรรมต่างๆ เพิ่มมากขึ้นนั้น Blackman and Silberman (1975: 57) ได้สรุปการนำไปปฏิบัติดังนี้
          1. กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้
          2. มีแบบซึ่งแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้อย่างเหมาะสม
          3. ให้แรงเสริมกับแม่แบบ เมื่อแม่แบบสามารถแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้ลักษณะของแม่แบบ

ข้อค้นพบจากการวิจัย
          จัดการจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ มีข้อค้นพบจากการวิจัยดังนี้
          1. พฤติกรรมก้าวร้าว Bandura, Ross and Ross (1963: 3) ได้ศึกษาผลของการใช้แม่แบบต่อการเรียนแบบพฤติกรรมก้าวร้าว โดยจัดแบ่งแม่แบบเป็น 3 ลักษณะ คือ แม่แบบที่เป็นจริง แม่แบบที่เป็นภาพยนตร์แสดงด้วยคนจริง และแม่แบบที่ทำเป็นภาพยนตร์การ์ตูน กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กก่อนวัยเรียน ผลการทดลองพบว่าเด็กที่ได้รับแม่แบบก้าวร้าวแสดงพฤติกรรมก้าวร้าวมากขึ้น ส่วนกลุ่มที่ไม่ได้รับแม่แบบไม่ค่อยมีพฤติกรรมก้าวร้าวปรากฏและแม่แบบที่เป็นภาพยนตร์มีผลต่อพฤติกรรมของผู้สังเกตทัดเทียมกับแม่แบบที่เป็นตัวจริง
          2. พฤติกรรมการแยกตนเอง O’Conner (1969) ได้ทดลองตัวแบบเพื่อเพิ่มพฤติกรรมการเข้ากลุ่มเพื่อนของเด็กชั้นประถมศึกษา ที่มีพฤติกรรมการแยกตัวออกจากเพื่อน พบว่ากลุ่มที่ได้ดูภาพยนตร์ตัวแบบมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมเพิ่มขึ้นจาก 2 ครั้งใน 80 นาที เป็น 11 ครั้งใน 80 นาที และพบว่าบางคนเพิ่มขึ้นจาก 25 ครั้งใน 80 นาที ส่วนกลุ่มที่ดูภาพยนตร์เกี่ยวกับสัตว์ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในพฤติกรรมการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม
          3. พฤติกรรมเอื้อเฟื้อ Midlarsky, Bryan & Brickman (1973: 321-328) ได้ศึกษาผลการใช้แม่แบบและรางวัลที่ผลต่อพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนหญิงเกรด 6 ใช้แม่แบบ 3 ลักษณะ คือ แบบเอื้อเฟื้อ แบบเป็นกลาง และแบบละโมบ การทดลองใช้การสร้างสถานการณ์ให้เล่นเกม ผลการทดลองพบว่า แม่แบบและรางวัลที่เป็นคำพูดยกย่องมีอิทธิพลต่อ การปลูกฝังให้เกิดพฤติกรรมเอื้อเฟื้อ สุณีน์ ชิ้นศักดิ์ชัย (2525: 33-35) ศึกษาการทดลองใช้หุ่นเชิดมือเป็นแม่แบบเพื่อพัฒนาจริยธรรมด้านความเอื้อเฟื้อ โดยใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยให้กลุ่มทดลองดูหุ่นเชิดมือสัปดาห์ละ 1 ครั้งๆ ละ 1 เรื่อง เรื่องละประมาณ 10 นาทีจำนวน 5 เรื่องส่วนกลุ่มควบคุมให้นักเรียนรู้จากการสอนตามปกติ ผลจากการทดลองพบว่า คะแนนเฉลี่ยของกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          4. ความกตัญญูกตเวที ศศิธร บรรลือสินธุ์ (2530: 46) ที่ศึกษาผลการใช้ตัวแบบที่มีคุณธรรมด้านความกตัญญูกตเวที ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 พบว่า การสอนโดยใช้ตัวแบบเรื่องความกตัญญูกตเวทีทำให้นักเรียนมีคุณธรรมด้านความกตัญญูกตเวทีสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          5. การพึ่งตนเอง รัตนา ภัทรธัญญา (2535: 48-49) ศึกษาผลของการใช้เทคนิคแม่แบบกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มทดลองสอนโดยใช้เทคนิคแม่แบบที่มีตัวแบบมีพฤติกรรมแสดงถึงการพึ่งตนเองด้านการเรียนในรูปวีดีทัศน์ กลุ่มควบคุมใช้การสอนแบบปกติ หลังการทดลองพบว่า นักเรียนในกลุ่มทดลองมีการพึ่งตนเองด้านการเรียนสูงขึ้นกว่าเดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และการสอนโดยใช้เทคนิคแม่แบบทำให้นักเรียนมีการพึ่งตนเองด้านการเรียนสูงกว่าการสอนปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          6. การกล้าแสดงออก วิไล พังสะอาด (2542: 45-46) ได้ศึกษาผลของการใช้บทบาทสมมติและการใช้เทคนิคแม่แบบที่มีต่อพฤติกรรมการกล้าแสดงออก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 พบว่า หลังจากการใช้บทบาทสมมติและการใช้เทคนิคแม่แบบ นักเรียนมีพฤติกรรมการกล้าแสดงออกมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          7. เหตุผลเชิงจริยธรรม วรวรรณินี ราชสงฆ์ (2541: 71) ได้ศึกษาเปรียบเทียบผลของการใช้เทคนิคแม่แบบและการใช้บทบาทสมมติที่กับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีการให้เหตุผลเชิงจริยธรรมต่ำ พบว่า นักเรียนมีการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรมด้านความซื่อสัตย์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          8. มารยาทในชั้นเรียน วีระ อุตสาหะ (2534: 61-67) ได้ทำการทดลองโดยใช้เทคนิคแม่แบบโดยวีดีทัศน์เพื่อปรับปรุงพฤติกรรมมารยาทในชั้นเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีมารยาทไม่เหมาะสม กลุ่มทดลองสอนโดยใช้เทคนิคแม่แบบ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการสอนโดยข้อนิเทศ ผลการวิจัยพบว่า นักเรียนกลุ่มทดลองมีมารยาทในชั้นเรียนดีขึ้นกว่าก่อนการทดลองและดีกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
          9. ความเสียสละ สุทธิชัย เดชสุวรรณนิธิ (2537: 197) ได้ทำการศึกษาผลของการใช้เทคนิคแม่แบบที่มีต่อความเสียสละของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มทดลองได้รับการใช้เทคนิคแม่แบบกลุ่มควบคุมได้รับการสอนแบบปกติ พบว่า นักเรียนที่ได้รับการใช้เทคนิคแม่แบบกับ การสอนปกติมีความเสียสละสูงขึ้นจากอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และนักเรียนที่ได้รับการสอนเทคนิคแม่แบบมีความเสียสละสูงกว่านักเรียนที่ได้รับการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

          สรุปได้ว่านวัตกรรมที่เป็นวิธีการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่มเป็นนวัตกรรมที่ดีอีกลักษณะหนึ่ง ซึ่งผู้สนใจสามารถนำไปแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนของตนเองได้ แต่ต้องศึกษาให้เข้าใจอย่างลึกซึ้งในแนวคิดของการเรียนรู้ด้วยตนเองและการเรียนเป็นกลุ่มเพื่อให้สามารถใช้นวัตกรรมให้เหมาะสมกับปัญหาในการจัดการเรียน การสอนและสามารถแก้ปัญหาหรือพัฒนาผู้เรียนให้บรรลุจุดประสงค์การเรียนรู้ได้จริง



          สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต (2543) ได้กล่าวว่า การใช้เทคนิคแม่แบบ เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยการสร้างหรือสอนพฤติกรรมให้แก่บุคคล โดยการเสนอตัวแบบให้บุคคลได้สังเกตตัวแบบ ซึ่งเป็นตัวแบบที่ผู้สังเกตให้ความสนใจและอยากทำตาม และเมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบแล้วได้รับการเสริมแรงทางบวกบุคคลจะแสดงพฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น



          สุภาพร ฉั่วพันธ์ (2554) ได้กล่าวว่า เทคนิคแม่แบบเป็นการเรียนรู้จากการสังเกต การกระทำของบุคคลอื่น ซึ่งเป็นการเรียนรู้ทางอ้อม โดยผู้เรียนจะสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบและผลจากการสังเกตพฤติกรรมจากตัวแบบจะทำให้บุคคลนั้นเลียนแบบพฤติกรรมของตัวแบบหรือเกิดพฤติกรรมใหม่ที่พึงประสงค์ได้





สรุป
          จากการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคแม่แบบ (Modeling Technique) เป็นการเรียนรู้ที่จะช่วยการสร้างหรือสอนพฤติกรรมให้แก่บุคคล ซึ่งเกิดจากการสังเกต การกระทำของบุคคลอื่น เป็นการเรียนรู้ทางอ้อม โดยผู้เรียนจะสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบ ซึ่งเป็นตัวแบบที่ผู้เรียนให้ความสนใจและอยากทำตาม จะทำให้ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมตามตัวแบบแล้วได้รับการเสริมแรงทางบวกบุคคลจะแสดงพฤติกรรมนั้นบ่อยขึ้น โดยมีกระบวนการเรียนรู้แม่แบบ มีดังนี้
          ขั้นที่ 1 กระบวนการใส่ใจ (Attention process)
          ขั้นที่ 2 กระบวนการเก็บจำ (Retentional process)
          ขั้นที่ 3 กระบวนการแสดงออก (Reproductional process)
          ขั้นที่ 4 กระบวนการจูงใจ (Motivational process)
และมีกลวิธีในการเรียนรู้ตัวแบบ ดังนี้
          1. กำหนดพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้
          2. มีแบบซึ่งแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้อย่างเหมาะสม
          3. ให้แรงเสริมกับแม่แบบ เมื่อแม่แบบสามารถแสดงพฤติกรรมที่ต้องการให้ผู้สังเกตเรียนรู้ลักษณะของแม่แบบ





ที่มา
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตย์. (2553). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. กรุงเทพฯ : บริษัท 
          แดเน็กซ์ อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
สมโภชน์ เอี่ยมสุภาษิต. (2543). ทฤษฎีและการปรับพฤติกรรม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงการณ์
          มหาวิทยาลัย
สุภาพร ฉั่วพันธ์. (2554). ผลของการใช้เทคนิคแม่แบบที่มีต่อมารยาทในการรับประทานอาหารของ
          นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสัตยาไส อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี. สารนิพนธ์
          ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.


066Putita : นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์

นวัตกรรมและสื่อการเรียนการสอนคณิตศาสตร์ ( http://oumi 024. blogspot.com/ 2009/08/ blog-post_ 21. html ) ได้รวบรวมไว้ว่า ความหมายขอ...